🌜มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัย
สำรวจและอธิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เบื้องต้น
🌜ตัวชี้วัด
☼ สังเกตดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์และดวงดาวบนท้องฟ้าและนำเสนอด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัย
☼ สืบค้นข้อมูลและสรุปว่าโลกเป็นดาว
☼ สังเกตและนำเสนอการเปลี่ยนแปลงที่พบในเวลากลางวัน
กลางคืน และฤดู
สาระสำคัญ
บนท้องฟ้ามีเวลากลางวันและกลางคืน
ซึ่งก็จะมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ อยู่มากมาย
และโลกของเราก็เป็นดาวดวงหนึ่ง มีลักษณะคล้ายทรงกลม
โดยมนุษย์เราอาศัยอยู่บนโลกและจะทำกิจกรรมแตกต่างกันในเวลากลางวันและกลางคืน
"
The ASSURE Model " ของไฮนิคและคณะ (Heinich and others
1999) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
A nalyze Leaner
Characteristics
|
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
|
S tate Objectives
|
การกำหนดวัตถุประสงค์
|
S elect, Modify, of Design
Materials
|
การเลือก ดัดแปลง
หรือออกแบบสื่อใหม่
|
U tilize Materials
|
การใช้สื่อ
|
R equire Learner Response
|
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
|
E valuation
|
การประเมิน
|
1.การวิเคราะห์ผู้เรียน Analyze Learner Characteristic
ผู้เรียนระดับชั้นปฐมวัย
อนุบาล 2 ของโรงเรียนอนุบาลหมีน้อย(ชื่อสมมติ) มีทั้งหมด 30 คน เป็นนักเรียนเพศชาย 17 คน และเพศหญิง 13 คน อยู่ในช่วงวัย 4-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กมีความกระตือรือร้น
อยากรู้อยากเห็น เรียนรู้ได้ดีจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชอบลงมือปฏิบัติและแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง สนใจการเปลี่ยนแปลงและปรากฎการณ์ต่่างๆ มีพื้นฐานความรู้เดิมมาจากชั้นอนุบาล 1 ในเรื่องของท้องฟ้าบ้าง
คือ เด็กรู้จักคำศัพท์ พระอาทิตย์, พระจันทร์ ทุกคนสามารถสื่อสารได้ดี อ่าน-เขียนคำศัพท์ที่เคยเห็นบ่อยๆ ได้ เช่น ชื่อตัวเอง พ่อ แม่ รัก ฉัน เป็นต้น แต่การเรียนรู้ของผู้เรียนวัยนี้ไม่ควรใช้ Text หรือ การพูดปากเปล่า เด็กต้องเห็นสื่อทางสายตา คือ ภาพ และได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและการลงมือกระทำ
2.กำหนดจุดมุ่งหมาย Stat
Objective
การเรียนเรื่อง "ท้องฟ้าของหนู" มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และจิตพิสัยในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1.ผู้เรียนสามารถบอกสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้าได้ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว (K)
2.ผู้เรียนสามารถบอกและอธิบายเกี่ยวกับโลกได้ (K)
3.ผู้เรียนสามารถวาดภาพและพูดเล่าเกี่ยวกับกลางวันและกลางคืนได้ (P)
1.ผู้เรียนสามารถบอกสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้าได้ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว (K)
2.ผู้เรียนสามารถบอกและอธิบายเกี่ยวกับโลกได้ (K)
3.ผู้เรียนสามารถวาดภาพและพูดเล่าเกี่ยวกับกลางวันและกลางคืนได้ (P)
4.ผู้เรียนร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานและยิ้มแย้มแจ่มใส (A)
3.การกำหนดสื่อการเรียนการสอน Select, Modify or Design Materials
· การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
ท้องฟ้าของจริง
กระดาษและสีเทียน
คอมพิวเตอร์และเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ /
เทปเพลงหรือซีดีการ์ตูนเกี่ยวกับท้องฟ้า
นิทานเกี่ยวกับกลางวัน-กลางคืน
· การออกแบบสื่อใหม่
ใช้กระดาษสี เชือก และอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องมาทำเป็นโมบายท้องฟ้า
แขวนที่ผนังห้องหรือหน้ากระดาน หรือจุดที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัด
โดยออกแบบให้เป็นสิ่งต่างๆ บนท้องฟ้า เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว โลก เป็นต้น
4.การใช้สื่อ
Utilize Materials
ในการใช้สื่อ ผู้สอนจะดำเนินการดังนี้
1.
ศึกษาเนื้อหา วางแผนการสอน ออกแบบแผนการจัดประสบการณ์
2.
เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่
3.
เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน
4.
เริ่มดำเนินการตามแผนและควบคุมชั้นเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น โดยมีขั้นตอนการสอน ดังนี้
▫
ฉายสื่อการ์ตูนหรือเปิดเพลงเกี่ยวกับท้องฟ้าและพูดคุยกับเด็ก
▫
ครูสอนเรื่องสิ่งต่างๆ บนท้องฟ้า โดยใช้โมบายประกอบ
▫
พาเด็กๆ ออกไปสำรวจท้องฟ้าจริงๆ นอกห้องเรียน
และวาดภาพสิ่งที่เด็กๆ เห็น
▫
อภิปรายร่วมกัน ให้เด็กๆ นำเสนอผลงานและเล่าเรื่อง
▫
ครูเล่านิทานและพูดคุยเกี่ยวกับกลางวัน-กลางคืน
5.การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
Require Learner
Response
ในการเรียนการสอนครูจะเตรียมสภาพแวดล้อมที่พร้อมให้เด็กเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กับสื่ออยู่เสมอ
ทั้งสื่อที่เป็นบุคคล คือ ครูและเพื่อน สื่อที่เป็นวัสดุ-อุปกรณ์
สื่อของจริง สื่อดิจิทัลและโสตทัศนูปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และกระตุ้นให้เด็กตอบสนองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์
นอกจากนี้ครูจะเชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่ให้กับผู้เรียน อีกทั้งต้องคอยสังเกตขณะที่ผู้เรียนแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
ซึ่งการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจะช่วยในการซึมซับข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
สำหรับเด็กเล็กวัยนี้ ผู้เรียนจะมีการตอบสนองโดยเปิดเผย
(overt response)
โดยการพูด เขียน หรือสร้างสรรค์ผลงาน
ในบทเรียนนี้เด็กจะสะท้อนออกมาผ่านการตอบคำถาม วาดภาพ เล่าเรื่อง ส่วนการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน
(covert response) โดยการท่องจำหรือคิดในใจอาจจะยังเห็นได้ไม่ชัดนัก
แต่เด็กสามารถเกิดมโนทัศน์หรือ Concept เรื่องท้องฟ้าได้ และนอกจากนี้เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนจะให้การเสริมแรงทันที
คือ การตบมือ คำชม ดาว
6.การประเมินผล
Evaluation
การประเมินผลสำหรับเด็กปฐมวัยจะใช้การประเมินผลตามสภาพจริงเป็นหลัก เพราะเด็กอนุบาลมักจะเรียนรู้จากการปฏิบัติ และครูจะต้องมีการประเมินผลการตอบสนองของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ทบทวนแผน และสรุปผลการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
֍
ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน
ประเมินจากการสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรม โดยครูจะใช้แบบบันทึกการสังเกต
บันทึกการเรียนรู้และพฤติกรรมขณะเรียนรู้ของเด็ก
֍
ประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน
ประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรม
โดยครูอาจเป็นผู้ประเมินและอาจให้ผู้เรียนประเมินด้วย ซึ่งจะใช้แบบบันทึกคำพูดเด็ก
แบบสัมภาษณ์ หรือแบบประเมินอย่างง่าย เช่น
֍
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ประเมินจากการตอบคำถาม
การเล่าเรื่อง และจากชิ้นงานการวาดภาพของเด็กเป็นรายบุคคล
นางสาวพระพร มุขยวงศา 570210043
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น